วันเสาร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2552

ราคาน้ำมันเอเชียดิ่งหลุด 39 ดอลลาร์

ราคาน้ำมันโลกในตลาดสิงคโปร์ ดิ่งลงไปแตะต่ำกว่าระดับ 39 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเมื่อวันพุธ เนื่องจากนักลงทุนยังผวาภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ซึ่งฉุดให้ราคาน้ำมันดิบร่วงลงแล้วประมาณร้อยละ 60 ในปีนี้ โดยราคาน้ำมันไลท์ สวีต ในตลาดนิวยอร์ก งวดส่งมอบเดือน ก.พ. ลดลง 70 เซ็น อยู่ที่ 38.33 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ในตลาดลอนดอน งวดส่งมอบเดือน ก.พ.ลดลง 77 เซ็น อยู่ที่ 39.38 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันโลกทะยานขึ้นไปแตะระดับสูงสุดที่ 147.27 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อวันที่ 11 ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งมีสาเหตุมาจากกระแสการคาดการณ์ว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ เช่นจีนและอินเดียจะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นความต้องการน้ำมันดิบด้วย

อย่างไรก็ตาม อารมณ์ความรู้สึกของนักลงทุน แปรเปลี่ยนเป็นตรงกันข้ามในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 เพราะ วิกฤติสินเชื่อในสหรัฐทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้การใช้จ่ายของผู้บริโภค และการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมดิ่งลงทั่วโลก

ส่วนในสัปดาห์นี้ มีความหวาดกลัวกันว่า ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและกลุ่มหัวรุนแรงฮามาสในฉนวนกาซา อาจเพิ่มความตึงเครียดในตะวันออกกลาง แหล่งน้ำมันโลก ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น หลังจากที่ดิ่งลงในระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 5 ปี อยู่ที่ 33.87 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อต้นเดือนที่แล้ว ขณะที่ในปีนี้ นักลงทุนยังคงพุ่งเป้าไปที่สัญญาณของความต้องการน้ำมันดิบหดตัว เพราะสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น ต่างเผชิญหน้ากับภาวะเศรษฐกิจถดถอย และประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ต่างก็ดิ้นรน ต่อสู้กับอัตราการเติบโตที่ชะลอตัว.


ข่าวจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 2 มกราคม 2552



บทวิเคราะห์.....

..............ผลจากภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกร่วงลงมาประมาณร้อยละ 60 ในปีนี้ ถึงแม้ว่า จะเคยขึ้นไปแตะระดับสูงสุดเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เพราะคาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ เช่นจีนและอินเดียจะเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นการกระตุ้นความต้องการน้ำมันดิบด้วย แต่ด้วยด้วยวิกฤติสินเชื่อในสหรัฐทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคต้องเป็นไปอย่างติดขัด อีกทั้งประเทศอุตสาหกรรมหลักก็ต้องเผชิญกับพิษเศรษฐกิจเช่นกัน ความต้องการน้ำมันจึงลดลงอย่างต่อเนื่อง

6 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ4 มกราคม 2552 เวลา 19:09

    เนื่องด้วยสภาวะเศรฐกิจที่ถดถอย และย่ำแย่

    มีผลทำให้ความต้องการ การใช้น้ำมันลดลงอย่างต่อเนื่อง

    ตราบใดที่สินเชื่อสหรัฐยังไม่ฟื้นตัว วิกฤติเศรษฐกิจและความต้องการ

    การใช้น้ำมันอาจจะดิ่งลงไปเรื่อยๆ

    ตอบลบ
  2. ความต้องการน้ำมันนั้นได้ปรับตัวลดลง เห็นได้ชัดว่า ราคาน้ำมันนั้นก็ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน เนื่องจากเกรงว่า ยอดการซื้อนั้นจะลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ก็ดีกับประชาชนนั่นเอง เเพราะลดภาระค่าใช้จ่าย และลดค่าใช้จ่ายในการผลิตอีกด้วย

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ8 มกราคม 2552 เวลา 21:45

    แม้ ความต้องการน้ำมันที่น้อยลงทำให้น้ำมันมีราคาที่ต่ำลงก็ตาม แต่ดูจากสถานการณ์ที่ตะวันออกกลางแล้ว คาดว่าอีกไม่นานราคาน้ำมันก็จะสูงขึ้นแม้เศรษฐกิจจะยังคงชะลอตวอยู่ก็ตาม

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ12 มกราคม 2552 เวลา 20:06

    การที่เศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ผู้คนรู้จักประหยัดมากขึ้น ทั้งการลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และการใช้น้ำมันที่ลดลง ในเมื่อความต้องการน้ำมันในตลาดลดลง ราคาน้ำมันก็ต้องลดลงตามไปด้วย อีกทั้งประเทศอุตสาหกรรมหลักที่ต้องใช้น้ำมันในการดำเนินการผลิต ก็ต้องลดการผลิดลงทำให้ใช้น้ำมันลดลงเช่นกัน แต่การที่ราคาน้ำมันจะลดลงแบบนี้นั้น ก็คงเป็นช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น เพราะปัญหาในตะวันออกกลางซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันโลก อาจส่งผลให้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ13 มกราคม 2552 เวลา 00:11

    เห็นด้วยกับคุณ worawan เพราะผลจากภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกต่ำลง ซึ่งช่วยให้ประชาชนไม่ต้องทนแบกรับราคาน้ำมันที่สูงอย่างในอดีต แต่ถึงกระนั้นก็ต้องคอยติดตามข่าวสารทางด้านเศรษฐกิจเพราะราคาน้ำมันแปรผันอยุ๋ตลอดเวลาซึ่งในไม่ช้ามันอาจจะมีราคาที่สูงอีกก็ได้

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ14 มกราคม 2552 เวลา 10:49

    เศรษฐกิจ โลกตกต่ำ...จึงมีผลกระทบต่อราคาน้ำมัน ถ้ามองในอีกแง่... อาจจะมีผลดีต่อผู้ที่ทำธุรกิจในด้านการขนส่งต่างๆ

    ตอบลบ