วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551

เศรษฐกิจโลกทรุดฉุดส่งออก พาณิชย์ยอมจำนน ลดเป้าส่งออกไปตลาดหลัก

นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยในการประชุมร่วมระหว่างสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ด้านการค้าระหว่างประเทศ (เอชทีเอ) ประจำปี 50 เมื่อวันที่ 20 ก.ย. ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงแผนการส่งเสริมการส่งออกให้ขยายตัวดีขึ้น โดยกำหนดยุทธศาสตร์การส่งออกที่สำคัญคือ ต้องการให้เอกชนใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ต่างๆที่มีอยู่ให้มากที่สุด เพราะที่ผ่านมา เอกชนยังใช้ประโยชน์ไม่ เต็มที่ เช่น เอฟทีเอไทย-ออสเตรเลีย

“การประชุมครั้งนี้ยังไม่ได้กำหนดเป้าหมายการส่งออกปี 51 อย่างเป็นทางการ แต่คาดว่า จะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 12% ซึ่งใกล้เคียงกับปีนี้ โดยกระทรวงพาณิชย์ยังคงให้ความสำคัญกับการขยายตัวของการส่งออกไปยังตลาด ใหม่ๆ โดยเฉพาะตะวันออกกลาง จีน แอฟริกา เอเชียใต้ ยุโรปตะวันออก ละตินอเมริกา และอาเซียน รวมถึงผลักดันธุรกิจบริการเพื่อให้ไทยมีรายได้จากธุรกิจบริการมากขึ้น” นายราเชนทร์กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมครั้งนี้ หัวหน้าสำนักงานต่างๆได้เสนอแผนส่งเสริมการส่งออกปี 51 โดยตลาด หลักของการส่งออกสินค้าไทยได้กำหนดเป้าหมายส่งออกลดลง เพราะปัญหาเศรษฐกิจภายในแต่ละประเทศ เช่น ตลาดสหรัฐฯ ปี 51 เป้าส่งออก 3-7% ลดลงจากเป้าปี 50 ที่คาดว่าจะขยายตัว 6% ตลาดยุโรปตั้งเป้า 25% ลดจาก 30%, ญี่ปุ่นตั้งเป้า 7% ลดจาก 10% อินเดียเป้า 50% ลดจาก 60% รัสเซีย 25% ลดจาก 30% ภูมิภาคตะวันออกกลาง 19.5% ลดจาก 19.7%

ส่วนตลาดที่กำหนดเป้าส่งออกในปี 51 เพิ่มขึ้น ได้แก่ แคนาดา ขยายตัว 10% เพิ่มจาก 9% บราซิล 35% เพิ่มจาก 30% จีน 2% เพิ่มจาก 20%

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้กำหนดให้ ทุกภูมิภาคมีส่วนร่วมในการผลักดันธุรกิจบริการเพื่อให้ ไทยมีรายได้จากธุรกิจบริการในสัดส่วนที่สูงขึ้น เมื่อเทียบกับการส่งออกสินค้า โดยเฉพาะธุรกิจที่ไทยมีความได้เปรียบ เช่น ร้านอาหารไทย ธุรกิจเพื่อสุขภาพและความงาม (โรงพยาบาลและธุรกิจสปา) และการศึกษานานาชาติ รวมทั้งธุรกิจบริการใหม่ๆ เช่น ธุรกิจออกแบบก่อสร้าง อู่ซ่อมรถยนต์ บันเทิง ตัดเย็บเสื้อผ้า และธุรกิจแฟรนไชส์


บทวิเคราะห์ข่าว

ทิศทางการส่งออกของประเทศน่าจะเน้นที่กลุ่มสินค้าเกษตรและอาหาร หรือสินค้าที่จำเป็นต่อการบริโภค จะยังมีโอกาสจะส่งออกไปได้ เพราะถึงแม้จะมีความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยในไตรมาสนี้ แต่ตลาดอียูถือว่ามีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดี มีความพร้อมในสวัสดิการในการดูแลประชาชน แม้ว่า จะตกงานก็ยังมีรายได้จากรัฐบาลมาสนับสนุน มีความแข็งแกร่งในเรื่องของเงินออม ขณะเดียวกันสินค้าจากไทยจะเป็นทางเลือกใหม่ ซึ่งทางกระทรวง ยังให้ความสำคัญกับการขยายตัวของการส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆอยู่แล้ว ซึ่งโดยเฉพาะตลาดใหม่ อย่างเช่น จีน ตะวันออกกลาง แอฟริกา เอเชียใต้ ฯลฯ โอกาศการส่งออกสินค้าจากไทยไปสู่ประเทศต่างๆจะขยายตัวขึ้น แต่สินค้าต่างๆที่ส่งไป จะต้องมีคุณภาพและแสดงถึงเอกลักษณ์ถึงความเป็นไทย อาทิเช่น สินค้าโอทอป อาหาร สุขภาพ หรือสินค้า และบริการ

9 ความคิดเห็น:

  1. การที่กระทรวงพาณิชย์ ให้ความสำคัญกับการขยายตัวของการส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆนั้น ย่อมส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เนื่องจากประเทศคู่ค้าที่มีอยู่ในปัจจุบันของไทย ประสบปัญหาเศรษฐกิจอยู่ในขณะนี้ จึงส่งผลกับธุรกิจส่งออกของไทย ดังนั้น การหาตลาดใหม่ๆจึงช่วยแก้ปัญหาธุรกิจการส่งออกของไทยได่อีกวิธีหนึ่ง แต่ก็ต้องคำนึกถึงคุณภาพของสินค้า ที่จะส่งออกไปยังตลาดใหม่ให้ได้มาตราฐานด้วย

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ17 ธันวาคม 2551 เวลา 10:22

    นับเป็นข่าวดีของประเทศไทย

    ที่กระทรวงพาณิชย์ส่งเสริมการส่งออกให้ขยายตัวดีขึ้น

    ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรม อุตสาหกรรอยู่แล้ว

    ดิฉันคิดว่าจุดนี้จะสามารถกระตุ้นระบบเศรษฐกิจให้กับประเทศ

    ให้ดีขึ้นได้มากมายทีเดียว

    ตอบลบ
  3. จากเศรษฐกิจโลกที่ถดถอยลงมา เป็นไปได้ยากเลยทีเดียวว่าทั้งโลกจะสามารถฟื้นตัวจากวิกฤติครั้งนี้ได้อย่างง่ายดาย

    โดยเฉพาะภูมิภาคในเขตเอเชีย ที่มีลูกค้ารายสำคัญนั่นก็คือ สมาชิกประเทศในยุโรปและอเมริกา ที่พวกเขาได้ลดกำลังการซื้อลง จนยอดต่ำกว่า 10 % ของยอดสั่งซื้อที่เคยเป็น และคงอีกนานกว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัว

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ17 ธันวาคม 2551 เวลา 21:52

    เศรษฐกิจของไทยนั้น... จำเป็นต้องพึ่งภาคการส่งออกอย่างมาก... รัฐบาลสมควรเป็นอย่างที่จะพัฒนาการส่งออก เพื่อจะได้นำมาหนุนเศรษฐกิจภายในประเทศให้ดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้นักลงทุนต่างชาติ มีความมั่นใจที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยได้อีกทางหนึ่ง

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ17 ธันวาคม 2551 เวลา 23:23

    จากการการปรุลุมมีผลสรุปทราบว่าแผนการส่งเสริมการส่งออกมีการขยายตัวดีขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีกับประเทศไทยเป็นอย่างมาเพราะสามารถช่วยให้ประเทศมีการส่งออกสินค้าที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าทางการเกษตร ซึ่งประเทศไทยเองก็ได้ชื่อว่าอู่ข้าวอู่น้ำของโลก ซึ่งจะช่วยเกษตรกรให้พ้นจากภาวะเศรษกิจต่ำต่ำนี้ได้

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ18 ธันวาคม 2551 เวลา 16:34

    ในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่มี การผลักดันธุรกิจในด้านบริการเพราะมีความเสี่ยงน้อยกว่าธุรกิจการส่งออกสินค้า หากมีการผลักดันให้มีการส่งออกสินค้ามากขึ้นในช่วงที่เศรษญกิจตกต่ำเช่นนี้ อาจจะส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกในเรื่องของราคาที่ตกต่ำ และสินค้าไม่ตรงตามเป้าหมาย

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ31 ธันวาคม 2551 เวลา 01:19

    เป็นผลดีของเศรฐษกิจประเทศไทย รัฐบาลน่าจะมีนโยบายที่ช่วยสนับสนุนการส่งออก เพราะเป็นหนทางที่จะช่วยเศรฐกิจของประเทศในปัจุบัน

    ตอบลบ
  8. การส่งออกสินค้าทั้งด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมของไทยนั้น เป็นที่ยอมรับและขยายวงกว้างไปทั้งทวีใกล้เคียงและทวีปยุโรป เนื่องจากสินค้าไทย ยังคงให้ความสำคัญในเรื่องของคุณภาพสินค้า

    แต่อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน และกำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก นั่นก็คือ ธุรกิจด้านการบริการและการท่องเที่ยว เป็นส่วนหนึ่งที่ทำรายได้ให้กับประเทศจำนวนหลายพันล้านต่อปี จึงควรผลักดันในส่วนนี้ และอาจเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เป็นอยุ๋ก็เป็นได้

    ตอบลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ8 มีนาคม 2552 เวลา 01:32

    ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ

    ตอบลบ