วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ลดค่าขนส่งก๊าซหุงต้มถังละ 5 บาท พาณิชย์กล่อมผู้ค้าสำเร็จ-พลังงานเบรกขึ้นเอ็นจีวี 1 ม.ค.

พาณิชย์กล่อมผู้ค้าก๊าซหุงต้ม ยอมปรับลดค่าขนส่งลงถังละ 5 บาท ตามต้นทุนราคาน้ำมันที่ลดลง ส่งผลเขตกรุงเทพฯ ก๊าซถัง 15 กิโลราคาลดลงเหลือ 285 บาท "วรรณรัตน์" ยังไม่ยอมปล่อย ปตท. ขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวีในวันที่ 1 มกราคมนี้ ระบุให้ สนพ.ไปศึกษาต้นทุน รอรัฐมนตรีชุดใหม่พิจารณาก่อนจึงปรับขึ้นได้นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือร่วมกับสมาคมผู้ค้าก๊าซหุงต้ม ว่าสมาคมยอมปรับลดราคาค่าขนส่งก๊าซหุงต้มลงถังละ 5 บาท มีผลตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2552 ส่งผลให้ราคาจำหน่ายก๊าซหุงต้มขนาด 15 กิโลกรัม ในเขตกรุงเทพฯ จะลดจาก 290 บาท เหลือ 285 บาท ซึ่งเป็นการลดลงให้สอดคล้องกับต้นทุนราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงมากกว่าครึ่ง โดยกรมจะต้องเข้มงวดการคิดค่าขนส่งให้เป็นไปตามข้อตกลงและต้องเข้มงวดการตรวจสต็อกก๊าซหุงต้ม ป้องกันไม่ให้นำไปใช้ในภาคการขนส่ง หลังจากที่กระทรวงพลังงาน ปรับเพิ่มราคาก๊าซแอลพีจีในส่วนการขนส่งและอุตสาหกรรมกิโลกรัมละ 2 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ทั้งนี้ ในช่วงน้ำมันปรับราคาสูงขึ้น ร้านค้าก๊าซได้ขออนุญาตมาทางกรมการค้าภายใน ขอปรับราคาค่าขนส่งก๊าซครัวเรือนขนาด 15 กิโลกรัม ระยะทางไม่เกิน 5 กิโลเมตร เป็น 15 บาทต่อถัง จากราคาเดิมคิดอยู่ที่ 10 บาทต่อถัง ส่วนการตรวจสอบราคาสินค้ารายการที่มีการปรับราคาลดลงในช่วงที่ผ่านมานั้น มีสินค้าควบคุมทั้งอุปโภคและบริโภค 8 ชนิด 18 รายการ ปรับราคาลดลงเฉลี่ย 5-40% เช่น แบตเตอรี่จีเอฟ จาก 2,880 เหลือ 2,680 บาท ลดลง 200 บาท หรือ 7% แบตเตอรี่พานาโซนิค จาก 2,700 เหลือ 2,600 บาท ลดลง 100 บาท หรือ 4% เหล็กเส้นขนาด 6 มิลลิเมตร จากเส้นละ 100 เหลือ 60 บาท ลดลง 40 บาท หรือ 40% ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 จาก 1,150 เหลือ 980 ลดลง 170 บาท หรือ 15%
นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงกรณีที่บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) จะขอปรับขึ้นราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) จาก 8.50 บาทต่อกก. เป็น 11 บาทต่อ กก. ว่าการปรับราคาเอ็นจีในวันที่ 1 มกราคม 2552 คงยังไม่เกิดขึ้น เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้มอบให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ไปศึกษาแล้ว ต้องรอข้อสรุปจาก สนพ.ก่อน และต้องนำเสนอรัฐบาลชุดใหม่พิจารณา ซึ่งการปรับราคาเป็นอำนาจของรัฐมนตรี ต้องให้รัฐบาลใหม่เข้ามาทำงานก่อน
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการ สนพ. กล่าวว่า มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้เห็นชอบเป็นหลักการให้มีการปรับราคาเอ็นจีวี แต่ สนพ.จะต้องศึกษาต้นทุนที่แท้จริง และต้องนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนใหม่เป็นผู้พิจารณา ซึ่งรัฐทราบว่าราคาเอ็นจีวี ที่ ปตท.จำหน่ายที่ 8.50 บาทต่อกก.นั้น เป็นราคาที่ขาดทุน แต่การจะให้ปรับขึ้นต้องพิจารณาจากหลายปัจจัยประกอบ

บทวิเคราะห์

จากราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างน่าใจหายทำให้พลังงานทดแทนของประเทศนั้นคือ เอ็นจีวี และ ก๊าซหุงต้มนั้นได้มีการทีจะทำการเพิ่มราคาของพลังงานทั้ง 2 อย่างเนื่องจากราคาน้ำมันที่ลดลงและจากการที่ผู้ใช้นั้นมีจำนวนที่มากกว่าในอดีตที่เริ่มจะเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานแบบเดิมไปใช้พลังงานน้ำมันแทน ทำให้มีการขอปรับค่าของพลังงานเพิ่มขึ้นแต่ในทางรัฐบาลได้ซะลออัตตราการเพิ่มของพลังงานทั้ง 2 อย่างไว้ทั้งนี้ถ้าพลังงานทั้ง 2 อย่างมีการปรับราคาที่สูงขึ้นตามข่าวก็จะทำให้เกิดความเดีอดร้อนต่อประชาชนอย่างแน่นอน

จาก หนังสือพิม คมชัดลึก

3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ20 ธันวาคม 2551 เวลา 12:12

    ยังมีประชาชนบางกลุ่มที่ยังกลัวการใช้ก๊าซต่างๆแทนน้ำมัน
    แต่ไม่ว่าก๊าซหรือน้ำน้ำมีการปรับราคาสูงขึ้น
    ดิฉันคิดว่ามันคงจะส่งผลกระทบถึงทั้ง 2 อย่าง
    ทำให้ทั้งก๊าซและน้ำมันต่างก็ราคาพุ่งขึ้น
    หากเป็นเช่นนั้นจะทำให้เกิดความเดีอดร้อนต่อประชาชนตามมา
    เหมือนครั้งก่อนๆ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ24 ธันวาคม 2551 เวลา 15:53

    หากมีการเพิ่มราคาพลังงานงานทดแทน ก็เท่ากับว่าไม่เหลือทางเลือกให้กับประชาชนเลย เป็นการบีบให้ประชาชนต้องเสียเงินมากขึ้น เพราะไม่ว่าจะใช้น้ำมัน หรือ NGV ก็ต้องเสียเงินมากขึ้นอยู่ดี อย่างนี้จะเรียกว่า"พลังงานทดแทน"ได้อย่างไร

    ตอบลบ
  3. การปรับขึ้นราคาพลังงานนั้น ถือเป็นผลกระทบต่อประชาชนทั้งทางตรง

    และทางอ้อม เพราะว่า เมื่อพลังงานมีราคาสูงขึ้น ราคาของสินค้าและบริการ

    ต่างๆนั้น ย่อมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ประชาชนผู้มีค่าครองชีพน้อย ย่อมได้รับผล

    กระทบ และอาจก่อให้เกิดหนี้ค้างชำระตามมาในระยะยาวด้วย

    ตอบลบ